พะตงวิทยามูลนิธิ
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ครู is mean

Go down

ครู  is mean Empty ครู is mean

ตั้งหัวข้อ  psu_t Tue Feb 09, 2010 8:48 pm

ผู้เรียบเรียง : บุรินทร์ สหะวิริยะ
email : Than_korean@hotmail.com


1. ครูอาชีพ กับ อาชีพครู
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ กล่าวถึงครูอาชีพว่า คือ ครูที่เป็นครู
ด้วยใจรัก เป็นครูด้วยจิตและวิญญาณ มีความเป็นครูทุกลมหายใจตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นครูที่รักและ
หวงแหน ห่วงใย อาทร ต่อนักเรียน ต่อศิษย์ดุจลูกในไส้ของตนเอง จะทำทุกวิถีทางที่จะให้ศิษย์
เป็นคนดี ไม่ยินยอมให้ศิษย์เป็นคนไม่ดีเป็นอันขาด จะติดตามสอดส่องศิษย์ทุกเมื่อเชื่อวันโดยไม่
ละทิ้งและมีความสุขมากในการที่ได้เกิดมาเป็นครู รักเกียรติเทอดทูนสถาบันครูอย่างภาคภูมิใจ 1
และ ดร.พนม พงษ์ไพบูลย์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้สรุปว่า ครูอาชีพ คือครู ที่มีความพร้อม
ในทุก ๆ ด้านที่จะเป็นครู มีความประพฤติดี วางตัวดี เอาใจใส่ดูแลศิษย์ดี มีวิญญาณของความ
เป็นครู และปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู 2
ส่วนคำว่า อาชีพครู พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้อธิบายว่า อาชีพครู คือครูที่ใช้วิชาที่
ร่ำเรียนมาเป็นเครื่องมือในการหาเลี้ยงชีพ ไม่ได้เป็นครูด้วยความรักสมัครใจ ครูประเภทนี้ไม่
จำเป็นต้องเรียนรู้วิชาครู ไม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจวิชาที่ตนสอนมากนัก แค่สอนจบไปวัน ๆ
หนึ่งก็พอแล้ว ศิษย์จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ช่างศิษย์ ไม่สนใจ ขอให้มีเงินเดือนตามวิทยฐานะ
ก็พอ ศิษย์จะดีไม่ดีไม่เป็นธุระ บางคนก็หาอาชีพเสริมทำ เช่น รับจ้างสอนพิเศษ บางรายหนัก
ลงไปอีกถึงรับจ้างแทงหวย จนแม้แต่ขายยาบ้าก็มี ครูประเภทนี้รัฐได้ประโยชน์ตอบแทนไม่
คุ้มค่าและหลายรายนำความเสียหายมาสู่สถาบันอีกโสดหนึ่งด้วย 3 คนที่มีลักษณะเป็นอาชีพ
ครู คือคนที่มายึดการเป็นครูเป็นอาชีพเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนขาดจิตวิญญาณของความเป็นครู
ซึ่งขณะนี้ครูของไทยมีลักษณะอาชีพครูเป็นจำนวนมาก ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะเป็นเงื่อนไข
ที่จะทำลายความหวังของการปฏิรูปการศึกษา เพราะครูคือความหวังที่จะนำสู่ความสำเร็จ
ของการปฏิรูปการศึกษา

ทุกคนได้ให้ความสำคัญกับครูอาชีพ และจากเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็ให้ความสำคัญและถือว่าครูเป็นผู้มีความสำคัญต่อการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศชาติ จึงมีบทบัญญัติ
ว่า ครูซึ่งเป็นบุคลากรวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
ต้องผ่านระบบการควบคุมเพื่อให้เป็นครูอาชีพ เช่น การให้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี
องค์กรวิชาชีพครู มีมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
ครู เพื่อให้เป็นครูอาชีพอย่างแท้จริง โดยมีกลไกที่จะส่งเสริมให้ครู มีการพัฒนาศักยภาพอย่าง
ต่อเนื่อง มีระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน มีค่า
ตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับ
ฐานะ ทางสังคมและวิชาชีพเป็นการเฉพาะที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อชี้ให้เห็นว่าขณะนี้ปัญหา
ของคุณภาพการศึกษาส่วนหนึ่งมาจากคนที่มีอาชีพครู และมีความพยายามที่จะกำหนด
แนวทางที่แก้ปัญหาเหล่านี้

2. ครูของครู กับ ครูอาชีพ
ครูอาชีพตามความหมายที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการและคาดหวังว่าจะมีจำนวน
มากขึ้น เมื่อผลแห่งการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
แต่ยังมีเงื่อนไขบางประการที่น่ากังวลก็คือในระบบการผลิต พัฒนาครูและองค์กรวิชาชีพ
ที่กำหนดให้ครูทั้งของรัฐและเอกชน มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่มีข้อยกเว้นสำหรับ
คณาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ซึ่งในกลุ่มนี้จะรวมถึงคณาจารย์ที่ทำหน้าที่
สอนครู หรือที่เรียกว่า ครูของครู นั่นเอง ถ้าพิจารณาจากสภาพปัจจุบันพบว่าครูของครูเหล่านี้
ยังมีอาชีพครูอยู่จำนวนไม่น้อย ไม่เข้าลักษณะของครูอาชีพอย่างที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
กล่าวไว้ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาอดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน ได้กล่าวถึงการแก้
ปัญหาคอร์รัปชั่นว่าจะแก้ไขได้โดยผู้นำรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีต้องทำเป็นตัวอย่าง ทำนอง
เดียวกัน นักเรียนจะเก่งและดีได้ครูต้องเป็นตัวอย่าง และเมื่อประเทศไทยอยากได้ครูอาชีพ
คนที่สอนครูก็ต้องเป็นครูอาชีพและเป็นตัวอย่างด้วยเช่นกัน ในเรื่องนี้ส่วนหนึ่งไปเชื่อมโยง
สัมพันธ์กับการมีใบประกอบวิชาชีพครู เมื่อมีข้อยกเว้นจะมีช่องทางใดบ้างที่จะช่วยกำกับ
ดูแลให้ครูของครูมีมาตรฐานวิชาชีพและเป็นที่พึ่งของลูกศิษย์ ไม่ใช่ศิษย์เป็นที่พึ่ง (ประโยชน์)
ของครู น่าจะอยู่ที่การกำหนดให้มีระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์และ
บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
(มาตรา 52) การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนามาตรฐาน
และจรรยาบรรณของวิชาชีพ (มาตรา 56) และอาศัยอำนาจของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(มาตรา 34) รวมทั้งมาตรการที่ให้ความเป็นอิสระและการจัดให้สถาบันผลิตครูเป็น
หน่วยงานในกำกับของรัฐตามมาตรา 36 ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง
เหมือนครูที่สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือไม่ ยังเป็นที่สงสัยจากประชาชนทั่วไป

3. จิตสำนึกและวิญญาณของคนสอนครู
คณาจารย์ที่สอนครูในอดีตมีจำนวนมาก ที่มีลักษณะครูอาชีพเป็นครูด้วยใจรัก เป็นครู
ด้วยจิตและวิญญาณ มีความห่วงใยต่อศิษย์ดุจลูกของตนเอง แต่เมื่อเวลาผ่านมามีกระแส
แห่งการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มากระทบทำให้มีครูอาชีพที่เป็นปูชนียบุคคลลดน้อยลงไป
อย่างน่าเป็นห่วง ด้วยสาเหตุอะไรนั้นเป็นเรื่องน่าคิด แต่ก็ไม่อยากให้คิดมากจนเสียเวลาที่จะ
เตรียมระบบใหม่ที่จะสร้างครูของครูให้เป็นครูอาชีพ เพื่อที่จะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความดี
ส่งต่อไปยังลูกศิษย์ที่เป็นครู และถูกถ่ายทอดพันธุกรรมแห่งความดีไปยังผู้เรียนด้วยจิตสำนึก
และวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง

การสร้างจิตสำนึกและวิญญาณครู ทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ เนื่องจาก
ในระยะ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อาชีพครูค่อนข้างได้รับการดูถูกดูแคลนจากสังคมเป็นอย่างมาก
น่าวิตก 4 ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น คนดีคนเก่งไม่เรียนครู คณาจารย์ที่สอนครูย่อหย่อน
ในการปฏิบัติหน้าที่ ภาระงานของครูมีมาก แรงจูงใจค่อนข้างต่ำ ระบบการพัฒนาไม่มี
ประสิทธิภาพ การอบรมพัฒนาไม่ตรงตามที่ต้องการ เป็นต้น จิตสำนึกและวิญญาณครู
จุดเริ่มต้นน่าจะอยู่ที่การสร้างศรัทธา คำว่าศรัทธาในที่นี้มีความหมาย 3 มิติ คือศรัทธาต่อ
ตนเอง ต้องเชื่อและศรัทธาในความรู้ความสามารถของตนเองว่าจะเป็นครูที่ดีได้ เป็นตัวอย่าง
ให้กับสังคมได้ กระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ และวิเคราะห์คัดสรร
ความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ และมีความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถสร้างภาพลักษณ์ของครูที่ดีได้
ประการที่สองคือ ศรัทธาต่ออาชีพครู รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นครูที่เป็นวิชาชีพ
ชั้นสูง เห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่เป็นครู ประการที่สามคือ ศรัทธาต่อองค์กร รักษาชื่อเสียง
ของสถานศึกษาและองค์กรวิชาชีพครู ประพฤติและปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ
ของวิชาชีพครู ถ้าครูทุกคน และครูของครูทุกคนมีความศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นจิตสำนึกและ
วิญญาณของความเป็นครู และสิ่งที่ดีที่เป็นแบบอย่างของสังคมได้ก็จะขยายและถ่ายทอด
ไปสู่เยาวชนชั่วลูกชั่วหลาน เสมือนกับผู้นับถือศาสนาไม่ว่าศาสนาใดจุดเริ่มก็อยู่ที่ความศรัทธา
เมื่อศรัทธาก็ประกาศตนเป็นผู้นับถือศาสนานั้น และปฏิบัติตาม คำสั่งสอนของศาสนา คำภีร์
หรือพระธรรมวินัยต่อไป เมื่อครูศรัทธาต่อวิชาชีพครูจะทำให้เกิดพลังแห่งความ มุ่งมั่น
สร้างสรรค์วิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงตาม เจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้

4. อาชีพครูกับผู้เรียน
ถ้าผู้เรียนมีครูที่เป็นเพียงผู้ยึดอาชีพครูเพื่อเลี้ยงชีพตนเองจะมีสิทธิเรียกร้องอะไรหรือไม่
กลไกควบคุมในปัจจุบันมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขจัดคนที่มีอาชีพครูอย่างไร ถ้าพิจารณา
จากกฎหมายสูงสุดของประเทศคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
แล้วจะพบว่าหมวด 5 ที่กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 81 กำหนดให้รัฐต้อง
จัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและ
ให้พัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งนำไปสู่การบัญญัติสาระดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก็น่าเชื่อว่าจะเป็นกลไกที่จะสร้างครูอาชีพได้ และถ้าสร้างจากวัตถุดิบ
ใหม่ (ครูใหม่) ที่พอตกแต่งให้เข้าระบบที่วางไว้ก็น่าจะมีความหวัง แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ยังมีครูและ ครูของครูที่มีวัฒนธรรมการทำงานเข้าข่ายอาชีพครูเป็นจำนวนมาก เราจะทำ
อย่างไร เพราะบุคคลเหล่านี้จะหา ผลประโยชน์จากผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็น
การขายสินค้า ขายชีทความรู้เก่า ๆ การหลีกเลี่ยงการสอนตามหน้าที่แต่กระตือรือร้นใน
การสอนพิเศษ ทำโครงการพิเศษเพื่อให้ได้เที่ยวต่างประเทศฟรีโดยไม่สนใจว่าผู้เรียน
จะเดือดร้อน กู้ยืมเงินมาอย่างไร สถาบันบางแห่งกลายเป็นขุมทรัพย์ของบุคคลเหล่านี้
ที่คนอื่นแตะต้องไม่ได้ แทนที่จะสร้างสถาบันให้เป็นขุมทรัพย์ทางปัญญา จึงถึงเวลาแล้ว
ที่เราจะต้องสร้างระบบใหม่ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้เรียนอย่างแท้จริง แนวคิด
เรื่องการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจะได้ไม่กลายเป็นว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งขุมทรัพย์
ของคนที่ยึดอาชีพครู

5. สร้างกระแสรักษาครูดี - ครูอาชีพ
แนวพระราชดำริด้านการศึกษา 5 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชดำริ
ถึงครูว่า “… ครูจะต้องเป็นผู้ประพฤติตนดีทั้งด้านวิชาการ คือต้องฝึกฝนตนให้มีความชำนาญ
ในด้านความรู้และวิธีสอน ส่วนด้านความประพฤติจะต้องเป็นคนที่พร้อมทั้งในด้านจิตใจและ
การปฏิบัติ เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างแก่ผู้พบเห็น เมื่อลูกศิษย์ได้เห็นและประทับใจในความ
สามารถและความดีของครูก็จะประพฤติตนตามแบบอย่าง…..” และยังมีพระราชดำริเกี่ยวกับ
ภารกิจและแนวทางการปฏิบัติตนของครูอีกหลายประการที่ควรนำมาสร้างกระแสให้ครูได้
ตระหนักและมีจิตสำนึกของความเป็นครูที่ดี 6

สิ่งที่จะผลักดันให้สังคมไทยมีครูดี ครูอาชีพจำนวนมากขึ้น อยู่ที่การสร้างกระแสให้
ทุกคนตระหนักและรักษาครูที่ดีไว้ นอกจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวแล้ว ยังมีวิธีการต่าง ๆ เช่น การยกย่องชมเชยครูดี ให้โอกาสและส่งเสริมครูทุกคน
ได้ทำหน้าที่ครูอาชีพอย่างแท้จริง สกัดกั้นสิ่งที่เป็นบ่อนทำลายและนำความเสื่อมเสียมาสู่
วิชาชีพครู ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสร้างระบบการผลิต พัฒนาครูและ
ประเมินครูให้มีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ทั้งนี้ ผู้ปกครอง
นักเรียน ชุมชน และองค์กรต่างๆ ต้องร่วมกันสร้างกระแสอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ในที่สุดครูดี - ครูอาชีพก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น อาชีพครูหรือผู้รับจ้างสอนก็จะค่อย ๆ ลด
จำนวนลง ความหวังของการปฏิรูปการศึกษาก็จะเป็นจริงได้ในไม่ช้า

อ้างอิง
1 พลเอกเปรม ติณสูสานนท์. ทางเลือกของครู. เอกสารอัดสำเนา, 2543 หน้า 1
2 พนม พงษ์ไพบูลย์. ครูอาชีพ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, 2543 หน้า 6
3 พลเอกเปรม ติณสูสานนท์. อ้างแล้ว. หน้า 2
4 สมเชาว์ เกษประทุม. “ครูพันธ์ใหม่” . มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 24 กรกฎาคม 2543 หน้า 10.
5 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู. คุณธรรมและจิตสำนึกของข้าราชการครู. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศรีเมืองการพิมพ์, 2542. หน้า 5
6 อ่านเพิ่มเติมใน สำนักงาน ก.ค. “คุณธรรมและจิตสำนึกของข้าราชการครู”

psu_t

จำนวนข้อความ : 11
Join date : 04/01/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ